Insurance Young Driver การประกันภัยรถยนต์ ENG
วีดีโอ Insurance young driver
การขับรถที่ถูกต้อง การขับรถในสภาวะต่างๆ การมีมารยาทในการขับรถ การประหยัดพลังงาน การขับรถอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษารถยนต์ รวมไปถึงโรงเรียนสอนขับรถ การสอนขับรถ ราคาการสอนขับรถ สถานที่ตั้งโรงเรียนสอนขับรถ
วีดีโอ Insurance young driver
โรงเรียนสอนขับรถ เซฟ ไดรฟเวอร์ เอดูเคชั่น
ราคา หลักสูตร 9,000 บาท
แผนที่ เซฟ ไดรฟเวอร์ เอดูเคชั่น
การเดินทางโดยสารรถประจำทาง
จากแยกแจ้งวัฒนะ -วิภาวดี รังสิต
สาย 29, 59, 95 และ ปอ.4, 10, 13, 19 (สายเหนือ )
สาย 29, 52 และ ปอ.4, 10,29 (สายใต้)
สาย 59, 95, 150 และ ปอ. 13 (สายตะวันออก )
------------------------------------------------------------------------
จากแยกปากเกร็ด
สาย 32, 90, 367, 359 (สายเหนือ )
สาย 32, 33, 51, 90, 104, ปอ. 56 และปอ.พิเศษ 1 (สายใต้ )
------------------------------------------------------------------------
จากแจ้งวัฒนะ
สาย 52, 150, 356,และ ปอ.150, 356
สาย 166,ปอ.166 (สีฟ้า) ท่าน้ำนนท์ - เหมืองทอง
------------------------------------------------------------------------
ลงรถเมล์ หน้าทางเข้าเมืองทองแล้วต่อรถสองแถว สาย 3 รถจะผ่านหน้า เซฟไดรฟเวอร์
------------------------------------------------------------------------
การเดินทางโดยรถตู้
เมืองทองธานี - อนุสาวรีย์ชัยฯ
เมืองทองธานี - สีลม
เมืองทองธานี - เพลินจิต
เมืองทองธานี - มีนบุรี
เมืองทองธานี - รามคำแหง
เมืองทองธานี - ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
เมืองทองธานี - เซ็นทรัล ลาดพร้าว
------------------------------------------------------------------------
จากนั้น ต่อรถสองแถว สาย 2 รถจะผ่านหน้า เซฟไดรฟเวอร์
------------------------------------------------------------------------
เซฟ ไดรฟเวอร์ เอดูเคชั่น จำกัด
อาคาร สุพีเรียร์ เลขที่ 220/11 ห้องที่ 12 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี ต. บางพูด อ. ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
Tel : 02-961 0002
Fax : 02-961 0003
เรียบเรียงโดย SmallRat ที่ 15:18 2 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: โรงเรียนสอนขับรถ, สอนขับรถ นนทบุรี
Posts Relacionadosการขับรถอย่างถูกวิธี
การขับรถอย่างถูกวิธีจะมีส่วนช่วยให้เรา สามารถช่วยอนุรักษ์พลังงาน ลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง หากเราปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้
1. ไม่ควรเร่งเครื่องก่อนออกรถ
การเร่งเครื่องให้มีความเร็วรอบสูง จะทำให้อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็น เพราะเมื่อเครื่องยนต์มีความเร็วรอบสูง อัตราความต้องการน้ำมัน เชื้อเพลิงจะสูงตามด้วย เมื่อออกรถเราไม่จำเป็นต้องเร่งเครื่องยนต์ โดยทั่วไปความเร้วรอบที่เหมาะสม สำหรับการออกรถประมาณ 1100-1250 รอบต่อนาที
2. ไม่ควรติดเครื่องขณะจอดรถคอย
กรณีที่จอดรถคอยเป็นเวลานาน ควรดับเครื่องยนต์เพราะจะทำให้ สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเปล่าประโยชน์ การติดเครื่องจอดอยู่เฉยๆ เป็นเวลา 5 นาที จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์ 0.3 ลิตร
3. ขับรถที่ความเร็วเหมาะสม
การขับรถด้วยความเร็วสูง จะต้องใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงตาม ดังนั้นเราควรควบคุม ความเร็วในอัตราที่เหมาะสม คือ ประมาณ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง หากขับที่ความเร็ว 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะใช้น้ำมันมากขึ้น ประมาณร้อยละ 17
4. การใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบ
ไม่ควรใช้เกียร์ต่ำ(เกียร์ 1,2) ที่ความเร็วรอบสูง หรือ ใช้เกียร์สูง (เกียร์ 3,4,5) ที่ความเร็วรอบต่ำ จะมีผลทำให้กำลังเครื่องตก และจะสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าปกติ
5. การเปิดเครื่องปรับอากาศ
ในการเปิดเครื่องปรับอากาศ จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 25 ดังนั้นถ้าหากเราใช้เครื่องปรับอากาศตามความจำเป็น และไม่ปรับให้เย็นมากเกินไป จะสามารถลดการสิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างมาก
6. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป
กรณีที่เราบรรทุกน้ำหนักเกินเพียง 50 กิโลกรัม จะมีผลทำให้ระยะทางที่วิ่งได้ต่อน้ำมัน 1 ลิตร สั้นลง 1 กิโลเมตร ดังนั้นจึงควรสำรวจในรถหากมีสิ่งของที่ไม่จำเป็นควรนำออก
7. เติมลมยางให้เหมาะสม
ตรวจเช็คและเติมลมยาง ให้เหมาะสมกับขนาดของรถยนต์ หากลมยางแข้งเกินไป จะทำให้ยางแตก และขับขี่ไม่นุ่มนวล ในขณะเดียวกันถ้าลมยางอ่อนเกินไป จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง มากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรเติมลมยางตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จากผู้ผลิต หากความดันลมยางต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกๆ 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จะทำให้สิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2
8. ตรวจเช็ครถยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนด
การตรวจเช็ครถยนต์ตามเวลาที่กำหนด เป็นการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ของรถยนต์ไม่ให้สึกหรอ และสามารถใช้งานต่อได้อย่างปลอดภัย และไม่เปลืองน้ำมัน
9. การตกแต่งรถ
การตกแต่งรถบางอย่าง เช่น การขยายหน้ายางล้อ ให้ใหญ่กว่ามาตรฐานเดิม จะเป็นการเพิ่มพื้นที่การรับน้ำหนักของรถ เมื่อต้องเพิ่มอัตราเร่ง จะทำให้เครื่องยนต์ ใช้ความเร็วรอบสูงกว่าปกติ เป็นเหตุให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย
เรียบเรียงโดย SmallRat ที่ 15:08 1 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: การขับรถประหยัดน้ำมัน, เทคนิคการขับรถ
Posts Relacionadosสืบเนื่องจาก ที่เคยพูดกัน ถึงเรื่อง ผู้ชายสักคน จะเลือกแฟน ก็เหมือนกับ ซื้อรถนั่นแหละ… ชอบรถใหม่ เปิดซิง หรือจะชอบแบบ รถมือสอง ที่เคยมีคน ขับ ( ขี่ ) มาแล้ว… !
3. การเหยียบคันเร่ง โดยการเหยียบให้ใช้เท้าขวาเหยียบ ซึ่งการเหยียบคันเร่งควรเหยียบแต่เพียงเบาๆ ถ้ารู้สึกว่าเครื่องเร่งไม่พอกับความต้องการ ก็ให้ทำการเหยียบคันเร่งเพิ่มขึ้นอีกจนกว่าจะเป็นที่พอใจ
การเหยียบคันเร่งลงไป หมายความว่า เครื่องยนต์จะมีความเร็วรอบเพิ่มมาขึ้น หรือที่เรียกว่าเป็นการเร่งเครื่องยนต์
การปล่อยคันเร่ง(หรือเรียกว่าผ่อนคันเร่ง) หมายความว่า เครื่องยนต์จะมีความเร็วลดลงมา หรือที่เรียกว่าเป็นการเบาเครื่องยนต์
4. การเหยียบคลัช โดยการเหยียบให้ใช้เท้าซ้ายเหยียบ ซึ่งการเหยียบคลัสจะต้องเหยียบลงไปให้สุดระยะ เหยียบทุกครั้งไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น โดยในขณะเหยียบคลัชสามารถเปลี่ยนเกียร์ และสามารถเหยียบเบรกเพื่อหยุดรถได้ โดยทั้งเปลี่ยนเกียร์และเหยียบเบรกสามารถกระทำพร้อมๆกันได้
5. การเหยียบเบรก โดยการเหยียบจะใช้เท้าขวาในการเหยียบ จะเหยียบเบรกเมื่อต้องการให้รถมีความเร็วต่ำลง หรือต้องการหยุดรถโดยการส่วนใหญ่ การเหยียบเบรกจะใช้ร่วมกับการเหยียบคลัส และเมื่อเลิกใช้เบรกแล้ว ให้เปลี่ยนเท้าขวาไปวางไว้ที่คันเร่งอย่างเดิม
6. การใช้เบรกมือ จะใช้มือซ้ายในการดึงเบรกมือขึ้นมาตรงๆ จนรู้สึกว่าตรึงมือก็ให้หยุดดึง โดยเราจะดึงเบรกมือขึ้นมาเมื่อต้องการจอดรถทิ้งไว้นานๆ เพื่อการจอดรถบนเนินกันรถไหล
7. การเข้าเกียร์ เกียร์โดยปกติจะมีตำแหน่งเกียร์ว่าง เกียร์1-5 และเกียร์ถอยหลัง
การเข้าเกียร์ว่าง ให้ดันคันเกียร์มาบริเวณตรงกลาง ถ้าคิดว่าเกียร์ว่างแล้วให้ทดลองโยกเกียร์ไปทางซ้ายและขวา ถ้าสามารถโยกได้แสดงว่าเข้าเกียร์ว่างแล้ว ซึ่งโดยปกติถ้าอยู่ในตำแหน่งช่วงกลางเมื่อโยกไปซ้ายหรือขวา จะเด้งกลับมาอยู่ในตำแหน่งตรงกลางเสมอ
การเข้าเกียร์ 1-2 ให้เลื่อนเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง แล้วดันเกียร์ไปทางซ้ายค้างไว้ชั่วขณะ (ซึ่งตำแหน่งนี้สามารถจะไปยังเกียร์1และเกียร์2ได้) แล้วถ้าดันขึ้นจะเป็นเกียร์ 1 ถ้าดันลงก็จะเป็นเกียร์ 2 ถ้าต้องการเข้าเกียร์ว่างก็ให้ดันเข้ามาตำแหน่งกลางเช่นเดิม
การเข้าเกียร์ 3-4 ให้เลื่อนเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง(ซึ่งตำแหน่งเกียร์ว่างนี้ สามารถไปยังเกียร์3 และเกียร์4ได้) ถ้าดันขึ้นจะเป็นเกียร์3 และถ้าดันลงจะเป็นเกียร์4 ถ้าต้องการเข้าเกียร์ว่างก็ให้ดันเข้ามาตำแหน่งกลางเช่นเดิม
การเข้าเกียร์ 5 และเกียร์ถอยหลัง(R) ให้เลื่อนเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง แล้วดันเกียร์ไปทางขวาค้างไว้ชั่วขณะ (ซึ่งตำแหน่งนี้สามารถจะไปยังเกียร์5และถอยหลังได้) แล้วถ้าดันขึ้นจะเป็นเกียร์ 5 ถ้าดันลงก็จะเป็นเกียร์ ถอยหลัง ถ้าต้องการเข้าเกียร์ว่างก็ให้ดันเข้ามาตำแหน่งกลางเช่นเดิม
หมายเหตุ การเข้าเกียร์ทุกครั้งพึงระลึกเสมอว่า
1. ต้องเหยียบคลัชให้สุดทุกครั้ง
2. การเคลื่อนที่ของเกียร์ต้องเป็นมุมฉากทุกครั้ง
3. เมื่อตำแหน่งหยุดพักชั่วขณะต้องหยุดทุกครั้ง
4. ไม่ควรกระชากคันเกียร์อย่างรวดเร็ว
อุปกรณ์ในควบคุมรถยนต์ ที่สำคัญประกอบด้วย
1. พวงมาลัยรถยนต์
ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดทิศทางรถให้เคลื่อนที่ตามที่เราต้องการ โดยถ้าต้องการให้รถไปในทิศทางใดก็ให้หมุนพวงมาลัยรถยนต์ ไปในทิศทางนั้น ไม่ว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
2. คันเร่ง
ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ แป้นเหยียบมีลักษณะเรียวเล็กถ้าความเร็วรอบมากกำลังเคลื่องยนต ์จะมากตามไปด้วย ถ้าความเร็วรอบต่ำความเร็ว เครื่องยนต์ก็จะมีไม่มากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่จะเหยียบคันเร่งไม่ควรจะเหยียบให้จมทันที ต้องเหยียบจากน้อยไปหามาก จนกว่าจะได้กำลังหรือความเร็วที่ต้องการแล้วค้างเท้าไว้ เพื่อไม่ให้รถกระชาก และเสียกำลังเครื่องยนต์ไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยแป้นคันเร่งจะอยุ่ที่แป้นเหยียบที่เท้าด้านขวาสุด โดยใช้เท้าขวาเหยียบ
3. เบรก
ทำหน้าที่ให้รถมีความเร็วต่ำลง หรือให้รถหยุด แป้นเหยียบกว้างให้เยียบได้ง่าย ถ้ารถมีความเร็ว โดยประมาณมากกว่า 30 กม./ชม เราสามารถเหยียบเบรกได้ทันที เพื่อการชะลอรถ แต่เมื่อใดก็ตามที่ความเร็วโดยประมาณต่ำกว่า 30 กม./ชม. ให้ทำการเหยียบคลัชก่อนจะเหยียบเบรก เพื่อป้องกันรถดับ โดยถ้าเราวิ่งมาด้วยความเร็วสูงและต้องการหยุดรถนั้น จะต้องเหยียบเบรกชะลอรถเสียก่อน ห้ามเหยียบเบรกจนสุดเพื่อหยุดรถทันที เพราะอาจจะทำให้รถเสียการควบคุม และอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ยกเว้นในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
การเบรกในเกียร์ออโต้นั้น จะไม่มีคลัช เพราะฉะนั้นสามารถใช้เบรกได้ปกติในทุกๆความเร็ว โดยไม่ต้องกลัวเครื่องดับ
ส่วนเบรกมือ มีหน้าที่หยุดรถไม่ให้ไหลเมื่อเราจอดในสถานที่ลาดเอียง ใช้งานโดยการดึงขึ้นมาตรงๆ จนรู้สึกตึงมือโดยใช้มือซ้ายแล้วเบรกมือจะค้าง เพื่อหยุดรถเราไว้ขณะจอด ถ้าต้องการปลดเบรกมือก็ให้ทำการกดปุ่มตรงปลายเบรกมือ แล้วปล่อยลงไปจะทำให้เบรกมือหยุดทำงาน
4. คลัช
ทำหน้าที่ เป็นตัวเชื่อมต่อล้อกับเครื่องยนต์ แป้นเหยียบมีลักษณะคล้ายกับเบรค โดยคลัชจะตัดต่อในลักษณะประกบกัน ไม่ใช้ลักษณะของเฟืองขบกันในขณะที่เราเหยียบคลัตช์เข้าไปจนสุด คลัชจะแยกออกจากกัน เป็นการแยกล้อออกจากเครื่อง เมื่อเราปล่อยคลัชขึ้นมาจนสุด คลัชก็จะประกบตัวจับกันจนแน่น เป็นการต่อล้อเข้ากับเครื่อง
ในกรณีของรถเกียร์ออโต้จะไม่มีคลัตช์ ให้ยุ่งยากขณเปลี่ยนเกียร์
5. เกียร์
เกียร์ธรรมดา ทำหน้าที่
1. ตัดต่อระหว่างล้อกับเครื่องในการเข้าเกียร์ และการปลดเกียร์หรือเกียร์ว่าง
2. กำหนดให้รถเคลื่อนที่เดินหน้าหรือถอยหลัง
3. ทำให้เพิ่มหรือลดกำลังของรถ โดยเกียร์ต่ำจะเพิ่มกำลังอของรถ ถ้าเกียร์สูงจะลดกำลังของรถ
4. เพิ่มหรือลดความเร็วรอบของล้อโดยเกียร์สูงจะเพิ่มความเร็วรอบ และเกียร์ต่ำจะลดความเร็วรอบ
โดยสรุปแล้วก็คือเมื่อเข้าเกียร์ต่ำจะมีกำลังของเครื่องยนต์มาก และจะวิ่งช้า แต่ถ้าเราขับรถโดยใช้เกียร์ต่ำจะเรียกว่า ลากเกียร์ โดยถ้าเราลากเกียร์นานๆ เป็นระยะทางยาว จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง และเกิดการสึกหรออย่างมาก
ซึ่งถ้าเราเข้าเกียร์สูง จะทำให้กำลังของเครื่องยนต์ต่ำมาก แต่จะมีความเร็วสูง แต่ถ้าเราออกรถยนต์ด้วยเกียร์สูง จะสังเกตุได้ว่าเราต้องการความเร็วรอบเครื่องยนต์สูงมาก ในการให้รถยนต์เคลื่อนตัว เพราะกำลังเครื่องจะต่ำมาก ดังนั้นเราจะเข้าเกียร์สูงก็ต่อเมื่อรถยนต์มีความเร็วเหมาะสม กับเกียร์นั้นๆแล้วเท่านั้น
รถเกียร์ออโต้ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเกียร์ธรรมดา แต่การใช้งานจะสะดวกมากกว่า
โดยที่คันเกียร์จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ เรียงตามลำดับจากหน้ารถมาหลังรถได้ดังนี้ P R N D S L
P ใช้เมื่อให้รถยนต์จอด โดยรถจะเคลื่อนที่ไม่ได้ เพราะล้อจะถูกล็อกอยู่กับเครื่อง
R ใช้เมื่อต้องการให้รถยนต์ถอยหลัง
N ใช้เมื่อต้องการเข้าเกียร์ว่างคล้ายกับ P แต่รถจะสามารถเคลื่อนที่ได้ถ้าเป็นเนินรถจะไหลได้
D จะเป็นตำแหน่งที่รถแต่ยี่ห้อจะเขียนไม่เหมือนกัน อาจจะใช้เป็นตัวอักษรอย่างอื่น ใช้เมื่อต้องการขับรถเดินหน้าในสภาวะปกติ โดยจะใช้เกียร์นี้ตลอด ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ตามความเร็วเหมือนเกียร์ธรรมดา
S จะเป็นตำแหน่งที่รถแต่ยี่ห้อจะเขียนไม่เหมือนกัน อาจจะใช้เป็นตัวอักษรอย่างอื่น จะใช้เมื่อต้องการกำลังรถมากขึ้น แต่ความเร็วจะลดลง
L จะเป็นตำแหน่งที่รถแต่ยี่ห้อจะเขียนไม่เหมือนกัน อาจจะใช้เป็นตัวอักษรอย่างอื่น โดยจะมีกำลังรถมากกว่าตำแหน่ง S และยังใช้ในการลากรถด้วย
หมายเหตุ สัญลักษณ์ข้างต้นเป็นเพียงแค่สิ่งที่นิยมใช้ ควรศึกษาจากคู่มือรถแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีฟังชั่นที่แตกต่างเพิ่มเติมออกมาอีก
การขับรถ การสอนขับรถ ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.