อุปกรณ์ในควบคุมรถยนต์
อุปกรณ์ในควบคุมรถยนต์ ที่สำคัญประกอบด้วย
1. พวงมาลัยรถยนต์
ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดทิศทางรถให้เคลื่อนที่ตามที่เราต้องการ โดยถ้าต้องการให้รถไปในทิศทางใดก็ให้หมุนพวงมาลัยรถยนต์ ไปในทิศทางนั้น ไม่ว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
2. คันเร่ง
ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ แป้นเหยียบมีลักษณะเรียวเล็กถ้าความเร็วรอบมากกำลังเคลื่องยนต ์จะมากตามไปด้วย ถ้าความเร็วรอบต่ำความเร็ว เครื่องยนต์ก็จะมีไม่มากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่จะเหยียบคันเร่งไม่ควรจะเหยียบให้จมทันที ต้องเหยียบจากน้อยไปหามาก จนกว่าจะได้กำลังหรือความเร็วที่ต้องการแล้วค้างเท้าไว้ เพื่อไม่ให้รถกระชาก และเสียกำลังเครื่องยนต์ไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยแป้นคันเร่งจะอยุ่ที่แป้นเหยียบที่เท้าด้านขวาสุด โดยใช้เท้าขวาเหยียบ
3. เบรก
ทำหน้าที่ให้รถมีความเร็วต่ำลง หรือให้รถหยุด แป้นเหยียบกว้างให้เยียบได้ง่าย ถ้ารถมีความเร็ว โดยประมาณมากกว่า 30 กม./ชม เราสามารถเหยียบเบรกได้ทันที เพื่อการชะลอรถ แต่เมื่อใดก็ตามที่ความเร็วโดยประมาณต่ำกว่า 30 กม./ชม. ให้ทำการเหยียบคลัชก่อนจะเหยียบเบรก เพื่อป้องกันรถดับ โดยถ้าเราวิ่งมาด้วยความเร็วสูงและต้องการหยุดรถนั้น จะต้องเหยียบเบรกชะลอรถเสียก่อน ห้ามเหยียบเบรกจนสุดเพื่อหยุดรถทันที เพราะอาจจะทำให้รถเสียการควบคุม และอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ยกเว้นในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
การเบรกในเกียร์ออโต้นั้น จะไม่มีคลัช เพราะฉะนั้นสามารถใช้เบรกได้ปกติในทุกๆความเร็ว โดยไม่ต้องกลัวเครื่องดับ
ส่วนเบรกมือ มีหน้าที่หยุดรถไม่ให้ไหลเมื่อเราจอดในสถานที่ลาดเอียง ใช้งานโดยการดึงขึ้นมาตรงๆ จนรู้สึกตึงมือโดยใช้มือซ้ายแล้วเบรกมือจะค้าง เพื่อหยุดรถเราไว้ขณะจอด ถ้าต้องการปลดเบรกมือก็ให้ทำการกดปุ่มตรงปลายเบรกมือ แล้วปล่อยลงไปจะทำให้เบรกมือหยุดทำงาน
4. คลัช
ทำหน้าที่ เป็นตัวเชื่อมต่อล้อกับเครื่องยนต์ แป้นเหยียบมีลักษณะคล้ายกับเบรค โดยคลัชจะตัดต่อในลักษณะประกบกัน ไม่ใช้ลักษณะของเฟืองขบกันในขณะที่เราเหยียบคลัตช์เข้าไปจนสุด คลัชจะแยกออกจากกัน เป็นการแยกล้อออกจากเครื่อง เมื่อเราปล่อยคลัชขึ้นมาจนสุด คลัชก็จะประกบตัวจับกันจนแน่น เป็นการต่อล้อเข้ากับเครื่อง
ในกรณีของรถเกียร์ออโต้จะไม่มีคลัตช์ ให้ยุ่งยากขณเปลี่ยนเกียร์
5. เกียร์
เกียร์ธรรมดา ทำหน้าที่
1. ตัดต่อระหว่างล้อกับเครื่องในการเข้าเกียร์ และการปลดเกียร์หรือเกียร์ว่าง
2. กำหนดให้รถเคลื่อนที่เดินหน้าหรือถอยหลัง
3. ทำให้เพิ่มหรือลดกำลังของรถ โดยเกียร์ต่ำจะเพิ่มกำลังอของรถ ถ้าเกียร์สูงจะลดกำลังของรถ
4. เพิ่มหรือลดความเร็วรอบของล้อโดยเกียร์สูงจะเพิ่มความเร็วรอบ และเกียร์ต่ำจะลดความเร็วรอบ
โดยสรุปแล้วก็คือเมื่อเข้าเกียร์ต่ำจะมีกำลังของเครื่องยนต์มาก และจะวิ่งช้า แต่ถ้าเราขับรถโดยใช้เกียร์ต่ำจะเรียกว่า ลากเกียร์ โดยถ้าเราลากเกียร์นานๆ เป็นระยะทางยาว จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง และเกิดการสึกหรออย่างมาก
ซึ่งถ้าเราเข้าเกียร์สูง จะทำให้กำลังของเครื่องยนต์ต่ำมาก แต่จะมีความเร็วสูง แต่ถ้าเราออกรถยนต์ด้วยเกียร์สูง จะสังเกตุได้ว่าเราต้องการความเร็วรอบเครื่องยนต์สูงมาก ในการให้รถยนต์เคลื่อนตัว เพราะกำลังเครื่องจะต่ำมาก ดังนั้นเราจะเข้าเกียร์สูงก็ต่อเมื่อรถยนต์มีความเร็วเหมาะสม กับเกียร์นั้นๆแล้วเท่านั้น
รถเกียร์ออโต้ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเกียร์ธรรมดา แต่การใช้งานจะสะดวกมากกว่า
โดยที่คันเกียร์จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ เรียงตามลำดับจากหน้ารถมาหลังรถได้ดังนี้ P R N D S L
P ใช้เมื่อให้รถยนต์จอด โดยรถจะเคลื่อนที่ไม่ได้ เพราะล้อจะถูกล็อกอยู่กับเครื่อง
R ใช้เมื่อต้องการให้รถยนต์ถอยหลัง
N ใช้เมื่อต้องการเข้าเกียร์ว่างคล้ายกับ P แต่รถจะสามารถเคลื่อนที่ได้ถ้าเป็นเนินรถจะไหลได้
D จะเป็นตำแหน่งที่รถแต่ยี่ห้อจะเขียนไม่เหมือนกัน อาจจะใช้เป็นตัวอักษรอย่างอื่น ใช้เมื่อต้องการขับรถเดินหน้าในสภาวะปกติ โดยจะใช้เกียร์นี้ตลอด ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ตามความเร็วเหมือนเกียร์ธรรมดา
S จะเป็นตำแหน่งที่รถแต่ยี่ห้อจะเขียนไม่เหมือนกัน อาจจะใช้เป็นตัวอักษรอย่างอื่น จะใช้เมื่อต้องการกำลังรถมากขึ้น แต่ความเร็วจะลดลง
L จะเป็นตำแหน่งที่รถแต่ยี่ห้อจะเขียนไม่เหมือนกัน อาจจะใช้เป็นตัวอักษรอย่างอื่น โดยจะมีกำลังรถมากกว่าตำแหน่ง S และยังใช้ในการลากรถด้วย
หมายเหตุ สัญลักษณ์ข้างต้นเป็นเพียงแค่สิ่งที่นิยมใช้ ควรศึกษาจากคู่มือรถแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีฟังชั่นที่แตกต่างเพิ่มเติมออกมาอีก
Seja o primeiro a comentar
แสดงความคิดเห็น