ยินดีต้อนรับสู่ howto-drive.blogspot.com
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ webblog ที่ประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการขับรถ การมีมารยาทในการขับรถ การประหยัดพลังงาน การขับรถอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษารถยนต์ รวมไปถึงโรงเรียนสอนขับรถ การสอนขับรถ ราคาการสอนขับรถ สถานที่ตั้งโรงเรียนสอนขับรถ หวังว่าเมื่อท่านเข้ามาแล้วเข้าใจเนื้อหาเรา จะเข้าใจถึงขับรถได้แตกต่างอย่างไรกับขับรถเป็น
Just because you are a young driver; does not mean that you have to pay through the nose for car insurance. Many insurance providers automatically assume that youth means inexperience, which in turn means higher risk and higher premiums.
การขับรถลุยฝน
ขึ้นชื่อเรื่องว่า "ขับรถลุยฝน" ไม่ใช่ขับรถหน้าฝน เพราะเมืองไทยฝนตกไม่เป็นฤดู ตกนอกฤดูโดยไม่มีเค้าล่วงหน้า และเมื่อถึงฤดูฝนจริงอย่างในตอนนี้ บางวันฝนก็ตกหนักมากและนาน อ่านเทคนิคการใช้และขับรถอย่างปลอดภัยเมื่อต้องลุยฝน เรื่อง พื้นฐานของรถที่ต้องทำ คือดูแลระบบต่างๆ ของรถและเครื่องยนต์ให้มีสภาพสมบูรณ์ เพราะรถเสียกลางฝน ย่อมลำบากและยุ่งยากกว่าตอนฝนไม่ตก ระบบการปัดน้ำฝน
น้ำ ฉีดกระจกควรเติมให้เต็ม ถ้าจะให้ดีควรผสมน้ำยาโดยเฉพาะหรือแชมพูสระผมลงไปด้วยเล็กน้อย ถ้ารูหัวฉีดน้ำตันให้ใช้เข็มขนาดเล็กแหย่สวนทางเข้าไป ถ้าไม่ดีขึ้นก็ต้องเปลี่ยนตัวใหม่ หากปรับมุมฉีดน้ำได้ก็ต้องปรับให้เหมาะสม ยางใบปัดน้ำฝน เป็นปัญหามากกว่าน้ำฉีดกระจกที่ดูแลได้ง่ายๆ ไม่แน่นอนว่ายางใบปัดจะหมดสภาพเมื่อผ่านไปนานเท่าไร ต้องขึ้นอยู่กับรถว่าจอดตากแดดแรงและบ่อยหรือไม่ รวมทั้งคุณภาพของตัวเนื้อยางใบปัดเองด้วย บางคันแค่ครึ่งปีก็เสื่อมสภาพลงไปมาก บางคันอยู่ได้ถึง 1 ปีหรือกว่านั้น แต่โดยเฉลี่ยทุก 1 ปีควรเปลี่ยนใหม่ การทนขับรถกระจกมัวๆ ท่ามกลางสายฝน หากเกิดอุบัติเหตุแล้วความเสียหายแพงกว่าค่ายางใบปัดน้ำฝนมากนัก ยิ่งปัดได้สะอาดใสเท่าไรยิ่งดี ไม่ควรชะล่าใจหากตนเองชอบยกก้านใบปัดขึ้นจากกระจก เมื่อต้องจอดตากแดด แล้วคิดว่าตัวยางจะทนทานขึ้น เพราะถึงจะไม่ได้แนบและรับความร้อนจากกระจกโดยตรง แต่แสงแดดเมืองไทยก็ร้อนมากจนทำให้เนื้อยางแข็งขึ้นเร็ว การตัดสินใจว่าควรจะเปลี่ยนยางใบปัดน้ำฝนหรือยัง ดูได้จากความสะอาดของกระจกขณะปัด และการใช้มือจับหรือเล็บจิกเนื้อยางขณะรถจอด การเปลี่ยนยางใบปัดน้ำฝน มีหลายทางเลือกในการเสียเงิน คือ - เปลี่ยนทั้งตัวก้านใบปัดและยางที่มาพร้อมกัน มีทั้งแท้และทดแทน ของแท้แพง แต่คุณภาพดีแน่นอน ส่วนของทดแทน มีสารพัดระดับราคาและหลากระดับคุณภาพ ตั้งแต่อันละร้อยสองร้อยบาทคุณภาพต่ำๆ หรือหลายร้อยบาทคุณภาพดี บางยี่ห้อคุณภาพดีทัดเทียมกับของแท้แต่ถูกกว่า อย่ารีบดูถูกของทดแทน และให้ระวังของปลอมที่ทำเหมือนยี่ห้อดัง ซึ่งมีขายอยู่เกลื่อนตลาด
- เปลี่ยนเฉพาะตัวยางใบปัด คล้ายกับกรณีเปลี่ยนทั้งตัวก้าน คือ มีทั้งยางของแท้และทดแทน รถหลายรุ่นผู้ผลิตแยกขายยางใบปัด หรือจะซื้อรวมทั้งตัวก้านเลยก็ได้ แต่บางยี่ห้อไม่แยกขายเฉพาะยาง ลองสอบถามราคาจากร้านอะไหล่หรือศูนย์บริการดู หากมีแยกขายเฉพาะยางก็ไม่จำเป็นต้องซื้อทั้งก้าน เพราะก้านไม่มีการสึกหรอ แต่การเปลี่ยนเฉพาะยางจะยุ่งยากกว่า ดังนั้นก่อนตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนทั้งก้านหรือเฉพาะยาง ควรเปรียบเทียบราคากับความคุ้มค่าและความสะดวกด้วย ส่วนยางใบปัดของทดแทน มีหลายระดับราคาและหลากระดับคุณภาพตั้งแต่เส้นละไม่กี่สิบบาทคุณภาพต่ำๆ หรือร้อยสองร้อยบาทแต่คุณภาพดี บางยี่ห้อคุณภาพดีทัดเทียมกับของแท้แต่ถูกกว่า อย่ารีบดูถูกของทดแทน การเลือกคุณภาพ นอกจากจะเดาจากราคาขายแล้วก็ใช้วิธีง่ายๆ คือ ตาดูมือหยิกว่า เนื้อยางมีสภาพเป็นอย่างไร น่าไว้ใจได้ไหม อีกปัญหาสำคัญของใบปัดน้ำฝน คือ ความสะอาดของตัวยาง เมืองไทยมีฝุ่นมาก ฝุ่นจะตกอยู่เหนือใบยาง มีบางส่วนค้างอยู่และลงไปอยู่ตรงหน้าสัมผัสของยางกับกระจก บางครั้งยางยังไม่หมดสภาพแต่ไม่สะอาด ก็จะกวาดน้ำฝนออกจากกระจกไม่ดี อีกทั้งยังอาจทำให้กระจกเป็นรอยอีกด้วยการทำความสะอาดตัวใบยางไม่ยาก ยกใบปัดใช้ผ้าเปียกลูบแรงๆ ผ่านตัวยาง หรือใช้สก็อตไบร์ตเปียกลูบแบาๆ ผ่านตัวยาง แล้วใช้นิ้วลูบผ่านแถวๆ หน้าสัมผัสปลายยางว่าเรียบและยังนิ่มหรือไม่
ยางล้อรถ สำคัญมาก
ความ ลึกของร่องยางหรือความสูงของดอกยาง มีผลต่อประสิทธิภาพของการรีดน้ำของยาง ยางที่ยังเหลือร่องลึกดอกสูงจะรีดน้ำออกจากหน้าสัมผัสของยางกับถนนได้ดีกว่า เพราะร่องยางมีหน้าที่หลัก คือ ให้น้ำที่ถูกรีดขึ้นมาจากหน้ายางแทรกตัวอยู่ หรือสะบัดออกด้านข้างทั้งสองของแก้มยาง ร่องยางหรือดอกยาง ควรเหลือไม่ต่ำกว่า 1.5-2 มิลลิเมตร หากประมาณด้วยสายตาไม่เป็น ก็สามารถดูได้ที่เนินเตี้ยๆ ลึกสุดของร่องยาง ที่มีอยู่ห่างกันเป็นระยะๆ ว่าดอกยางสึกลงไปจนเตี้ยเท่ากับเนินนั้นหรือยัง ถ้าเท่าหรือเกือบเท่ากัน ก็แสดงว่าการรีดน้ำออกจากหน้ายางจะไม่ดีแล้ว เพราะมีช่องให้น้ำอยู่และรีดออกไปน้อยมาก ต้องระวังเมื่อขับลุยฝนหรือเปลี่ยนยางใหม่ ยางหัวโล้นแทบไม่มีดอกเหลือ ยิ่งต้องระวังให้มาก ขับย่องๆ เมื่อฝนตก แต่ไม่ใช่ว่าใช้ยางใหม่แล้วจะทะยานลุยฝนได้เร็วมาก เพราะยังไงเมื่อขับลุยฝนการเกาะถนนของยางก็ต้องแย่กว่าบนทางแห้งอยู่แล้ว ยางที่มีดอกยางลายรูปตัววี ถูกออกแบบให้มีการรีดน้ำออกไปด้านข้างได้ดีกว่า แต่ไม่ควรชะล่าใจ เพราะเคยพบว่ายางบางรุ่นไม่ได้รีดน้ำดีกว่าดอกยางลายธรรมดาเลย อาการเหินน้ำของยาง
ไม่ว่าผู้ผลิตยางจะเน้นทั้งการออกแบบและโฆษณาว่ายางรุ่นนั้นมีการรีดน้ำดี เพียงไร แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะยังไงก็หนีอาการเหินน้ำไม่ได้ อาการเหินน้ำ คือ อาการของหน้ายางลอยอยู่เหนือน้ำไม่แตะถนน เมื่อยางต้องหมุนผ่านน้ำที่อยู่บนถนนทั้งเป็นฟิล์มบางๆ หรือหนาขนาดท่วมขัง แม้น้ำหนักของรถเป็นพันสองพันกิโลกรัมจะคอยกดหน้ายางแต่ละเส้นลงสู่พื้นด้วย น้หนักหลายร้อยกิโลกรัม แต่น้ำก็คอยต้านแรงกดนั้นอยู่เสมอ กลายเป็นตัวแทรกระหว่างหน้ายางกับพื้น ยางจะเกาะที่สุดเมื่อไม่มีอะไรคั่น แต่ถ้ามีฝุ่นหรือน้ำคั่นยิ่งมากเท่าไรก็ยิ่งลดประสิทธิภาพการยึดเกาะลงไปน้ำ เป็นของเหลวไหลไปมาได้ง่ายก็จริง แต่การรีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อให้หน้ายางแนบลงกับถนนกับถนนในขณะที่ยางหมุนผ่านเร็วมาก ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยางหมุนกว่า 10 รอบต่อวินาที ลองคิดดูว่าการรีดน้ำจนหมดจากหน้ายางให้สนิทจริงๆ ก็คงเป็นไปไม่ได้ อาการของยางที่หมุนผ่านน้ำบนพื้น แล้วกดตัวไม่แนบสนิทเหมือนตอนพื้นแห้ง จนทำให้ยางและรถมีการยกตัวไม่มากก็น้อย เรียกว่าอาการเหินน้ำหรือ HYDRO PLANING ทำให้การยึดเกาะของยางลดลง และการขับคับควบคุมทิศทางรถแย่ลง หรือถึงขั้นควบคุมไม่ได้ จนลื่นไถลไปเลยก็มี ดังนั้นจำให้ขึ้นใจว่า อาการเหินน้ำของยางนั้นอันตรายมาก และมีหลายระดับความรุนแรง ตั้งแต่เซนิดๆ จนถึงพวงมาลัยดึงออกข้าง หรือถึงขั้นแซมากจนบังคับทิศทางด้วยพวงมาลัยแทบไม่อยู่ สภาพถนนไทยไม่น่าไว้ใจ
เกี่ยวข้องโดยตรงกับอาการเหินน้ำของยางแม้ขับบนถนนเรียบ มีชั้นของน้ำอยู่บนถนนค่อนข้างสม่ำเสมอ จนไม่มีการการดึงของพวงมาลัย แต่ด้วยความแย่ของการสร้าง การทรุดตัว รวมถึงการระบายน้ำของถนนไทยที่ไม่แน่นอน ทำให้บางช่วงของถนนมีน้ำขังโดยผู้ขับเดาไม่ออกไม่ทราบล่วงหน้า ดังนั้นการขับรถลุยเมื่อขับมาเพลินๆ ไม่มีอาการผิดปกติ ดูเหมือนจะใช้ความเร็วเหมาะสมกับสภาพถนนและฝนแล้ว ก็มักจะลดความหวาดระแวง แต่ถ้ามีน้ำขังโดยไม่คาดฝัน ก็ต้องเจอกับอาการยางเหินน้ำทันที หากใครไม่เตรียมตัวหรือจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ก็อาจให้รถเสียการบังคับควบคุมอย่างฉับพลัน (ตำแหน่งที่ดีที่สุดของการจับพวงมาลัยคือ 9 และ 3 นาฬิกาหรือ 10 และ 2 นาฬิกา) จึงควรจับพวงมาลัย 2 มือในตำแหน่งนี้ และใช้ความเร็วต่ำกว่าที่ตนเองมั่นใจอยู่เล็กน้อย เผื่อว่าจะต้องเจอน้ำขังโดยไม่รู้ตัว เพราะถนนเมืองไทยมีทั้งแอ่งน้ำและการระบายน้ำที่ไม่ดีคละกันอยู่บ่อยๆ นอกจากอาการเหินน้ำแล้ว ก็ต้องทราบไว้ว่าช่วงที่ฝนเริ่มตกใหม่ๆ จะลื่นที่สุด เพราะไทยมีฝุ่นมาก น้ำฝนผสมกับฝุ่นแล้วยิ่งลื่นมาก แล้วจะลื่นน้อยลงเมื่อฝุ่นถูกชะออก กลายเป็นปัญหาของอาการเหินน้ำเมื่อฝนตกต่อเนื่อง ตามแต่ความหนาของน้ำที่ค้างอยู่ ถ้าฝนตกหนักแล้วค้างอยู่บนถนนมาก ก็จะลื่นมากตามไปด้วย ไม่ใช่ฝนตกนานจนล้างฝุ่นหมดแล้วจะไม่ลื่น ใน ภาพการณ์จริง พบว่าคนไทยหลายคน ขับรถลุยฝนเร็วกว่าที่น่าจะปลอดภัย เพราะชะล่าใจกับอาการของรถบนทางเรียบ มั่นใจหรือไม่รู้จักอาการการเหินน้ำของยาง นึกเปรียบเทียบง่ายๆ ว่า การเอามือตบลงบนโต๊ะแห้งๆ ย่อมทำให้มือแนบกับโต๊ะได้ง่ายและดีกว่าโต๊ะเปียกๆ ที่ต้องตบมือลงไปเพื่อให้น้ำเล็ดออกไปก่อน ไฟฉุกเฉิน ไม่จำเป็นและไร้สาระ
มี การปฎิบัติกันเพราะความเข้าใจผิดๆ ทั้งคิดเอง มองเห็นผู้อื่นทำ คนใกล้ตัวแนะนำ รวมถึงคนไกลตัวแบบสื่อมวลชน เช่น บางรายการวิทยุส่งเสริม หลายคนเข้าใจผิดว่า เปิดไฟฉุกเฉินขับรถกลางฝน แล้วจะทำให้คนอื่นมองเห็นได้ดีขึ้น แม้มองเห็นชัดขึ้นก็จริง แต่ผลเสียที่ตามมามีมากมาย เช่น - เกิดความชะล่าใจ ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะเมื่อชะล่าใจก็จะเกิดความมั่นใจในการขับรถมากขึ้น คิดไปเองว่าเมื่อเปิดไฟฉุกเฉินแล้วคนอื่นเห็นชัด ตนเองก็จะขับรถใช้ความเร็วได้สูงขึ้น เพราะคนอื่นกลัวจะเข้ามาชน น่าแปลกที่มักเห็นว่าเมื่อฝนตกหนักหากรถคันใดที่เปิดไฟฉุกเฉินแล้วก็จะขับใน เลนกลางหรือขวา ใช้ความเร็วสูงกว่าที่เหมาะสม อีกทั้งยังเปลี่ยนเลนไปมา ในขณะที่คันที่ไม่เปิดไฟฉุกเฉินจะขับสงบเสงี่ยมในเลนซ้ายหรือกลางด้วยความ เร็วต่ำๆ
- แสบตาผู้อื่นจากแสงไฟกระพริบ เพราะมักไม่ได้มีคันเดียวที่เปิดไฟฉุกเฉิน ยิ่งหลายคันเปิดเต็มถนน ก็ยิ่งลายตา
- ไม่มีไฟเลี้ยวใช้ วิธีขับรถที่ถูกต้อง คือ ต้องเปิดไฟเลี้ยวเตือนผู้อื่นล่วงหน้า (แม้บางคนบอกว่าไม่จำเป็นก็ตาม) บางคนมือไวปิดไฟฉุกเฉินก่อนเปิดไฟเลี้ยว แต่ก็เสียสมาธิในการขับรถลงไป และผู้ขับรถคนอื่นก็ไม่ได้มีหน้าที่ต้องจ้องว่า รถคันใดที่เปิดไฟฉุกเฉินแล้วปิดก่อนจะเปิดไฟเลี้ยว
- ผู้อื่นอาจเห็นเป็นไฟเลี้ยว เพราะมีรถคันอื่นบังหรือมองผ่านๆ ยิ่งถ้ามีรถเปิดไฟฉุกเฉินขับติดๆ กัน แล้วมีบางคันเปิดไฟเลี้ยว ก็ยิ่งยากต่อการแยกแยะ ความสับสนย่อมลดความปลอดภัยลง
- สับสนรถแล่นกับรถจอดค้างบนถนน เป็นมาตรฐานเมื่อรถจอดเสียหรือเกิดอุบัติเหตุบนนถนนว่าต้องเปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อเตือนผู้อื่น แต่พอมีรถที่แล่นอยู่เปิดไฟฉุกเฉินติดๆ กันหลายคัน ก็คุ้นเคย พอเจอรถจอดและเปิดไฟฉุกเฉิน กว่าจะแยกออกว่าเป็นรถจอดหรือแล่น ก็ต้องใช้เวลาเป็นเสี้ยววินาทีทำความเข้าใจ และอาจชนเข้ากับรถที่จอดอยู่ ไม่ยุติธรรมเลยสำหรับผู้ที่ทำถูกต้อง จอดค้างบนถนนแล้วเปิดไฟฉุกเฉิน ผู้ที่เปิดไฟนี้แล้วขับรถ อย่ามาอ้างว่าทุกคนสามารถตัดสินใจได้เร็วว่ารถคันใดจอดหรือแล่นในขณะที่เปิด ไฟฉุกเฉิน เพราะลึกๆ แล้วคนส่วนใหญ่จะนึกว่า ไฟฉุกเฉินจะถูกเปิดใช้เมื่อฉุกเฉินตามชื่อ หรือรถจำเป็นต้องจอดค้างอยู่บนถนน
การใช้ไฟอย่างถูกต้อง เมื่อฝนตกหนัก
ควร เปิดไฟหน้าแบบต่ำ เพราะถ้าเปิดไฟสูง สายฝนจะสะท้อนกลับมายังผู้ขับมากจนมองเส้นทางข้างหน้ายาก ไม่ควรเปิดไฟหรี่ เพราะการเปิดไฟหน้าแบบต่ำ แทบไม่ได้สิ้นเปลืองอะไรเลย ไดชาร์จ (อัลเตอร์เนเตอร์) แทบไม่ได้ทำงานหนักขึ้น หลอดไฟหน้าจะอายุสั้นลงก็ไม่ใช่ปัญหา หลอดละร้อยสองร้อยบาทเท่านั้น เมื่อจะเปลี่ยนเลน ให้เปิดไฟเลี้ยวเตือนผู้อื่นล่วงหน้าตาม ขับรถลุยฝน ใช้ความเร็วต่ำกว่าความมั่นใจของตนเองเล็กน้อย อย่าชะล่าใจ ควรจับพวงมาลัย 2 มือในตำแหน่งที่แนะนำไว้ข้างต้น พร้อมจะลดความเร็วลงได้อย่างรวดเร็ว ระวังอาการเหินน้ำของยางไว้ทุกวินาที ไม่มีเอบีเอส เบรกอย่างไร
ถ้า ไม่มีเอบีเอส การเบรกแรงๆ บนถนนลื่น ล้อมีโอกาสล็อกได้ง่าย ล้อที่ล็อกจะขาดการบังคับควบคุมทิศทางจากพวงมาลัย หรือทำให้รถปัดเป๋จนถึงขั้นหมุนคว้างได้ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่ากระแทกแป้นเบรกแรงๆ หากจำเป็นและรู้สึกว่าล้อล็อกแล้ว ควรละเบรกเล็กน้อยเพื่อให้ล้อคลายการล็อก ส่วนการขับรถที่มีเอบีเอสก็อย่าชะล่าใจ เพราะถึงเอบีเอสจะป้องกันล้อล็อก แต่นั่นก็แสดงว่าเป็นการเบรกที่รุนแรงเกินไปนั่นเอง ความปลอดภัยในการขับรถลุยฝน สำคัญที่ความพร้อมของทั้งรถและผู้ขับ
วรพล สิงห์เขียวพงษ์
ที่มา : www.manager.co.th
Seja o primeiro a comentar
แสดงความคิดเห็น