ยินดีต้อนรับสู่ howto-drive.blogspot.com

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ webblog ที่ประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการขับรถ การมีมารยาทในการขับรถ การประหยัดพลังงาน การขับรถอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษารถยนต์ รวมไปถึงโรงเรียนสอนขับรถ การสอนขับรถ ราคาการสอนขับรถ สถานที่ตั้งโรงเรียนสอนขับรถ หวังว่าเมื่อท่านเข้ามาแล้วเข้าใจเนื้อหาเรา จะเข้าใจถึงขับรถได้แตกต่างอย่างไรกับขับรถเป็น
Just because you are a young driver; does not mean that you have to pay through the nose for car insurance. Many insurance providers automatically assume that youth means inexperience, which in turn means higher risk and higher premiums.

09 พฤศจิกายน 2551

ท่าในการนั่งขับรถที่ถูกต้อง

ในการขับรถยนต์เป็นเวลานานๆนั้น อาจเกิดความเมื่อยล้าในการขับรถได้ ในการนั่งขับรถท่านั่งที่ถูกต้องนั้นสามารถที่จะบรรเทาการเมื่อยล้า และยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับรถได้อีกด้วย

เริ่มต้นจากการปรับเริ่มจากการปรับเบาะนั่งให้ได้ระยะเหมาะสม ปรับตำแหน่งพวงมาลัย นั่งให้เข่าอยู่สูงกว่าตะโพกเล็กน้อย งอข้อศอกเล็กน้อย ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย และปรับมุมกระจกมองข้าง-มองหลังและปรับกระจก มองหลังให้เห็นกระจกบังลมหลังทั้งบาน จึงคาดเข็มขัดนิรภัย

การปรับระยะเบาะนั่ง

ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็ใช้ฝ่าเท้าเหยียบแป้นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย

ในกรณีที่เป็นรถเกียร์ธรรมดา (เกียร์กระปุก) การปรับเบาะที่นั่งให้เหมาะสมกับการขับ ต้องนั่งให้ชิดพนักพิงแล้วใช้อุ้งเท้าซ้าย เหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด ถ้าเหยียบไม่สุด ให้ปรับเบาะไปทางด้านหน้าจนสามารถเหยียบจนสุด เมื่อเหยียบสุดแล้วเข่าต้องตึง ถ้าเหยียบสุดแล้วเข่าไม่ตึง ให้ปรับเบาะเลื่อนมาข้างหลัง มิฉะนั้นจะเมื่อยเข่าในขณะขับ

การปรับพนักพิงที่ถูกต้อง

การปรับพนักพิงจะต้องไม่เอนมาก หรือน้อยเกินไปซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้ โดยใช้มือขวาจับ
ที่ตำแหน่ง 9-10 นาฬิกา มือขวา 2-3 นาฬิกา ข้อศอกจะงอเล็กน้อย ไม่ตึงและไม่งอมากเกินไป แผ่นหลังจะติดพนักพิงเสมอ ปรับเสร็จแล้วลองเลื่อนมือไปวางไว้บนสุดของวงพวงมาลัย โดยเราต้องสามารถนำ ข้อมือต้องแตะกับพวงมาลัยได้พอดีจึงจะถูกต้อง ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัย แล้วมืออยู่เลยไปถึงกลางฝ่ามือหรือโคนนิ้ว แสดงว่าปรับพนักพิงเอนเกินไป ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัยแล้วมืออยู่ชิดเลยข้อมือเข้ามาแสดงว่า นั่งชิดเกินไป

การปรับหมอนรองศรีษะ

หมอนรองศรีษะให้ปรับเอนศรีษะให้อยู่กลางหมอนรองศรีษะพอดี บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่ามีไว้สำหรับเอาคอมาพิงเพื่อจะนอนได้สะดวก แต่ความเป็นจิงแล้วถ้าทำลักษณะเช่นนั้น จะเกิดอันตรายมากเวลาเกิดอุบัติเหตุ เพราะว่าหมอนรองศรีษะมีหน้าที่ไว้รองศรีษะเวลาเกิดอุบัติเหตุ ไม่ให้ศรีษะเงอหรือสบัดไปทางด้านหลังซึ่งอาจทำให้กระดูกคอ แตกหรือหักได้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต


การปรับเข็มขัดนิรภัย (ถ้าปรับได้)

ถ้ารถยนต์สามารถที่จะปรับเข็มขัดนิรภัยให้สูงต่ำได้ ให้ปรับระดับสายเข็มขัดนิรภัย ให้เหมาะสมโดยสาย จะต้องพาดจากบริเวณไหปลาร้าเฉียงลงมาที่สะโพก แล้วก็มาพาดอยู่แถวกระดูกเชิงกราน โดยอย่าให้สายมาพาดที่บริเวรคอ หรือห้อยเลยหัวไหล่ไป

การปรับพวงมาลัยรถยนต์

ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆมีระบบการปรับพวงมาลัย โดยการปรับนั้นจะต้องไม่สูงเกินไปจนทำให้เมื่อยล้า ในการขับระยะทางไกล และไม่ควรต่ำจนติดหน้าขา

การปรับกระจกมองหลัง

ให้ปรับกระจกมองหลังให้เห็นมุมมองกว้างที่สุด ไม่ใช่มีไว้ดูหน้าตัวเอง

การปรับกระจกมองข้าง

ให้ปรับกระจกมองข้างให้มองเห็นตัวถังของรถยนต์เพียงนิดหน่อย แต่อย่าให้เห็นเพียงด้านหลังอย่างเดียว

สิ่งที่ไม่ควรทำในการนั่งขับรถ

1. อย่านั่งชิดพวงมาลัยมากเกินไป เนื่องมาจากการต้องการมองด้านหน้าสุด ของฝากระโปรงหน้า เพราะกลัวว่าการกะระยะจะไม่ถูกต้อง ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้ข้อศอกงอ มากกว่าปกติทำให้การหมุนพวงมาลัย ทำได้ไม่คล่อง และถ้าเกิดอุบัติเหตุจะทำให้ ถุงลมนิรภัยที่อยู่ที่พวงมาลัยเกิดพองตัวขึ้นมา ปะทะกับหน้าทันทีซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นควรกะระยะเอง ซึ่งในตอนแรกอาจกะระยะเผื่อไว้มากหน่อย แล้วพอทำบ่อยๆ ก็จะสามารถกะระยะได้อย่างถูกต้องเอง

2. การปรับเบาะให้เอนมากๆ จะทำให้ต้องชะโงกตัวโหนพวงมาลัย ทำให้การควบคุมพวงมาลัยไม่คล่องตัว ขาดความฉับไวและแม่นยำในการควบคุม เมื่อมองกระจกมองหลังและมองข้าง ก็จะต้องเบนแนวสายตามากกว่าปกติ และทำให้เกิดการเมื่อยล้าเมื่อขับรถในระยะไกล

3. การปรับหมอนรองศรีษะให้หนุนลำคอ ควรปรับหมอนรองศรีษะหนุนแล้วอยุ่กลางหมอน เพื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุ ศรีษะจะสบัดไม่มากทำให้ลดอันตรายที่จะเกิดกับกระดูกต้นคอ

4. การจับพวงมาลัย ควรจับในตำแหน่งที่ถูกต้อง และต้องจับทั้งสองมืออยู่เสมอ อาจจะยกมือไปเปลี่ยนเพลงบ้างก็ไม่ว่ากัน แต่คนส่วนใหญ่มันจับผิดๆ และจับตามความสบายของตนเอง เนื่องด้วยความเคยชิน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

5. การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เนื่องจากคนส่วนใหญ่พอใส่ครั้งแรกแล้วรู้สึกอึกอัดทำให้ไม่อยากใส่ แต่ถ้าคิดแบบนั้นพอเกิดอุบัติเหตุ คนขับจะพุงเข้าไปหาพวงมาลัย หรือกระจกหน้ารถยนต์ เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การใส่เข็มขัดนิรภัยควรที่จะใส่เป็นนิสัยจนรู้สึกว่า เมื่อไม่ใส่แล้วมันขาดอะไรไปสักอย่างในการขับรถ

6. การใช้เท้าซ้ายมาเหยียบคันเร่ง เมื่อขับรถนานๆ อาจเกิดการเมื่อยบางคนจะใช้เท้าซ้ายมาเหยียบคันเร่ง แทนซึ่งไม่ควรปฎิบัติ จะทำให้เมื่อเราต้องการเบรก เรามักจะไม่ชินกับการใช้เท้าซ้ายเบรก ถ้าจะใช้เท้าขวาเบรกก็จะต้องยกเท้าซ้ายออกก่อน ทำให้กว่าจะเบรกต้องเสียเวลาไปมาก ซึ่งบางคนอาจคิดว่าไม่มาก แต่จริงๆแล้วใน 1 วินาที ถ้าเราขับรถเร็ว 100 ก.ม./ชม.ใน 1 วินาทีรถจะวิ่งไป 28 เมตร

7. การฟังเพลงดังๆหรือใส่หูฟัง จะไม่ได้ยินเสียงผิดปกติต่างๆ

8. การนั่งไม่จับพวงมาลัยรถยนต์ จะทำให้เมื่อมีเหตุฉุกเฉินจะควบคุมรถได้ยากมากยิ่งขึ้น

1 Comentário:

หลอดไฟ กล่าวว่า...

ขอบคุณคะสำหรับความรู้ดีๆ ได้ความรู้มากค่ะ

แสดงความคิดเห็น

Child in car ปลอดภัยไว้ก่อน

การขับรถ การสอนขับรถ ©Template Blogger Green by Dicas Blogger.

TOPO