ยินดีต้อนรับสู่ howto-drive.blogspot.com
Just because you are a young driver; does not mean that you have to pay through the nose for car insurance. Many insurance providers automatically assume that youth means inexperience, which in turn means higher risk and higher premiums.
15 พฤศจิกายน 2551
14 พฤศจิกายน 2551
ผู้ชายกับผู้หญิงต่างกันอย่างไร
ก่อนจะไปดูความแตกต่างในการขับรถระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายเราไปดูกันก่อนว่านิสัย ผู้ชายกับผู้หญิงนั้นแตกต่างกันอย่างไร
http://www.youtube.com/watch?v=3yDbwqa-76Y
จาก http://www.youtube.com/
การขับรถ การ์ตูนฮาๆ
ดูกันครับว่าการขับรถแบบไหนดีไม่ดี
มีทั้งการขับรถแบบถูกต้อง และการขับรถแบบอันตราย
http://www.youtube.com/watch?v=_sZOMcxLwQg
ที่มาจาก http://www.youtube.com/
เรียบเรียงโดย SmallRat ที่ 23:33 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: เทคนิคการขับรถ, Video การขับรถ
Posts Relacionados11 พฤศจิกายน 2551
การเปลี่ยนเกียร์
จากบทความที่แล้ว(วิธีปล่อยคลัชเพื่อออกรถ)เมื่อออกรถในเกียร์1ได้แล้วจนปล่อยคลัชออกจนหมดแล้ว เหยียบคันเร่งเพิ่มขึ้นไปให้รถมีความเร็วประมาณ 10 ก.ม.ต่อชั่วโมง แล้วทำตามขั้นตอนต่อไป
- เหยียบคลัชให้สุด
- มือดึงคันเกียร์1 มาพักตรงกลาง(ตำแหน่งเกียร์ว่าง) ชั่วขณะแล้วดึงต่อมาที่ตำแหน่งเกียร์2
- ปล่อยคลัชออกมาได้เรื่อยๆ ไม่ต้องหยุดพ้ก ปล่อยมาจนสุดระยะเหยียบ
- เหยียบคันเร่งเพิ่มขึ้นให้ได้ความเร็วโดยประมาณ 20 ก.ม.ต่อชั่วโมง
- ทำการเปลี่ยนเกียร์3ต่อไป โดยให้ปฎิบัติตาม ขั้นตอนเดียวกับ การเปลี่ยนเกียร์1 เป็นเกียร์2 ทุกประการ
การเพิ่มความเร็วรถ จะต้องเข้าเกียร์เรียงลำดับจาก 1-5
- เกียร์1 ใช้ที่ความเร็วโดยประมาณ 0-10 ก.ม./ช.ม.
- เปลี่ยนไปใช้เกียร์2 ที่ความเร็วโดยประมาณ 10-20 ก.ม./ช.ม.
- เปลี่ยนไปใช้เกียร์3 ที่ความเร็วโดยประมาณ 30-40 ก.ม./ช.ม.
- เปลี่ยนไปใช้เกียร์4 ที่ความเร็วโดยประมาณ 50-60 ก.ม./ช.ม.
- เปลี่ยนไปใช้เกียร์5 ที่ความเร็วโดยประมาณ 60-80 ก.ม./ช.ม.
10 พฤศจิกายน 2551
วิธีการปล่อยคลัชเืพื่อออกรถ
การปล่อยคลัช จะปล่อยจากต่ำแหน่งเหยียบคลัชสุด จะปล่อยออกมาประมาณครึ่งหนึ่งของระยะเหยียบทั้งหมด(หรือกึ่งกลางนั่นเอง) แล้วให้หยุดเท้าไว้ในตำแหน่งนี้ชั่วขณะ ตำแหน่งนี้เรียกว่า ตำแหน่งเลี้ยงคลัช สรุปง่ายๆ การปล่อยตัวคลัชให้มาหยุดที่ตำแหน่งเลี้ยงคลัชนั่นเอง
ตำแหน่งเลี้ยงคลัช จะรู้ได้อย่างไรเมื่อมาถึงตำแหน่งนี้
- รถยนต์เริ่มขยับเคลื่อนที่
- ตัวรถ หรือพวงมาลัย จะมีการสั่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- เสียงของเครื่องยนต์จะเบาลงจากเดิม
09 พฤศจิกายน 2551
ท่าในการนั่งขับรถที่ถูกต้อง
ในการขับรถยนต์เป็นเวลานานๆนั้น อาจเกิดความเมื่อยล้าในการขับรถได้ ในการนั่งขับรถท่านั่งที่ถูกต้องนั้นสามารถที่จะบรรเทาการเมื่อยล้า และยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับรถได้อีกด้วย
เริ่มต้นจากการปรับเริ่มจากการปรับเบาะนั่งให้ได้ระยะเหมาะสม ปรับตำแหน่งพวงมาลัย นั่งให้เข่าอยู่สูงกว่าตะโพกเล็กน้อย งอข้อศอกเล็กน้อย ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย และปรับมุมกระจกมองข้าง-มองหลังและปรับกระจก มองหลังให้เห็นกระจกบังลมหลังทั้งบาน จึงคาดเข็มขัดนิรภัย
การปรับระยะเบาะนั่ง
ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็ใช้ฝ่าเท้าเหยียบแป้นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย
ในกรณีที่เป็นรถเกียร์ธรรมดา (เกียร์กระปุก) การปรับเบาะที่นั่งให้เหมาะสมกับการขับ ต้องนั่งให้ชิดพนักพิงแล้วใช้อุ้งเท้าซ้าย เหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด ถ้าเหยียบไม่สุด ให้ปรับเบาะไปทางด้านหน้าจนสามารถเหยียบจนสุด เมื่อเหยียบสุดแล้วเข่าต้องตึง ถ้าเหยียบสุดแล้วเข่าไม่ตึง ให้ปรับเบาะเลื่อนมาข้างหลัง มิฉะนั้นจะเมื่อยเข่าในขณะขับ
การปรับพนักพิงที่ถูกต้อง
การปรับพนักพิงจะต้องไม่เอนมาก หรือน้อยเกินไปซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้ โดยใช้มือขวาจับ
ที่ตำแหน่ง 9-10 นาฬิกา มือขวา 2-3 นาฬิกา ข้อศอกจะงอเล็กน้อย ไม่ตึงและไม่งอมากเกินไป แผ่นหลังจะติดพนักพิงเสมอ ปรับเสร็จแล้วลองเลื่อนมือไปวางไว้บนสุดของวงพวงมาลัย โดยเราต้องสามารถนำ ข้อมือต้องแตะกับพวงมาลัยได้พอดีจึงจะถูกต้อง ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัย แล้วมืออยู่เลยไปถึงกลางฝ่ามือหรือโคนนิ้ว แสดงว่าปรับพนักพิงเอนเกินไป ถ้าวางมือลงบนพวงมาลัยแล้วมืออยู่ชิดเลยข้อมือเข้ามาแสดงว่า นั่งชิดเกินไป
การปรับหมอนรองศรีษะ
หมอนรองศรีษะให้ปรับเอนศรีษะให้อยู่กลางหมอนรองศรีษะพอดี บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่ามีไว้สำหรับเอาคอมาพิงเพื่อจะนอนได้สะดวก แต่ความเป็นจิงแล้วถ้าทำลักษณะเช่นนั้น จะเกิดอันตรายมากเวลาเกิดอุบัติเหตุ เพราะว่าหมอนรองศรีษะมีหน้าที่ไว้รองศรีษะเวลาเกิดอุบัติเหตุ ไม่ให้ศรีษะเงอหรือสบัดไปทางด้านหลังซึ่งอาจทำให้กระดูกคอ แตกหรือหักได้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
การปรับเข็มขัดนิรภัย (ถ้าปรับได้)
ถ้ารถยนต์สามารถที่จะปรับเข็มขัดนิรภัยให้สูงต่ำได้ ให้ปรับระดับสายเข็มขัดนิรภัย ให้เหมาะสมโดยสาย จะต้องพาดจากบริเวณไหปลาร้าเฉียงลงมาที่สะโพก แล้วก็มาพาดอยู่แถวกระดูกเชิงกราน โดยอย่าให้สายมาพาดที่บริเวรคอ หรือห้อยเลยหัวไหล่ไป
การปรับพวงมาลัยรถยนต์
ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆมีระบบการปรับพวงมาลัย โดยการปรับนั้นจะต้องไม่สูงเกินไปจนทำให้เมื่อยล้า ในการขับระยะทางไกล และไม่ควรต่ำจนติดหน้าขา
การปรับกระจกมองหลัง
ให้ปรับกระจกมองหลังให้เห็นมุมมองกว้างที่สุด ไม่ใช่มีไว้ดูหน้าตัวเอง
การปรับกระจกมองข้าง
ให้ปรับกระจกมองข้างให้มองเห็นตัวถังของรถยนต์เพียงนิดหน่อย แต่อย่าให้เห็นเพียงด้านหลังอย่างเดียว
สิ่งที่ไม่ควรทำในการนั่งขับรถ
1. อย่านั่งชิดพวงมาลัยมากเกินไป เนื่องมาจากการต้องการมองด้านหน้าสุด ของฝากระโปรงหน้า เพราะกลัวว่าการกะระยะจะไม่ถูกต้อง ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้ข้อศอกงอ มากกว่าปกติทำให้การหมุนพวงมาลัย ทำได้ไม่คล่อง และถ้าเกิดอุบัติเหตุจะทำให้ ถุงลมนิรภัยที่อยู่ที่พวงมาลัยเกิดพองตัวขึ้นมา ปะทะกับหน้าทันทีซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นควรกะระยะเอง ซึ่งในตอนแรกอาจกะระยะเผื่อไว้มากหน่อย แล้วพอทำบ่อยๆ ก็จะสามารถกะระยะได้อย่างถูกต้องเอง
2. การปรับเบาะให้เอนมากๆ จะทำให้ต้องชะโงกตัวโหนพวงมาลัย ทำให้การควบคุมพวงมาลัยไม่คล่องตัว ขาดความฉับไวและแม่นยำในการควบคุม เมื่อมองกระจกมองหลังและมองข้าง ก็จะต้องเบนแนวสายตามากกว่าปกติ และทำให้เกิดการเมื่อยล้าเมื่อขับรถในระยะไกล
3. การปรับหมอนรองศรีษะให้หนุนลำคอ ควรปรับหมอนรองศรีษะหนุนแล้วอยุ่กลางหมอน เพื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุ ศรีษะจะสบัดไม่มากทำให้ลดอันตรายที่จะเกิดกับกระดูกต้นคอ
4. การจับพวงมาลัย ควรจับในตำแหน่งที่ถูกต้อง และต้องจับทั้งสองมืออยู่เสมอ อาจจะยกมือไปเปลี่ยนเพลงบ้างก็ไม่ว่ากัน แต่คนส่วนใหญ่มันจับผิดๆ และจับตามความสบายของตนเอง เนื่องด้วยความเคยชิน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
5. การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เนื่องจากคนส่วนใหญ่พอใส่ครั้งแรกแล้วรู้สึกอึกอัดทำให้ไม่อยากใส่ แต่ถ้าคิดแบบนั้นพอเกิดอุบัติเหตุ คนขับจะพุงเข้าไปหาพวงมาลัย หรือกระจกหน้ารถยนต์ เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การใส่เข็มขัดนิรภัยควรที่จะใส่เป็นนิสัยจนรู้สึกว่า เมื่อไม่ใส่แล้วมันขาดอะไรไปสักอย่างในการขับรถ
6. การใช้เท้าซ้ายมาเหยียบคันเร่ง เมื่อขับรถนานๆ อาจเกิดการเมื่อยบางคนจะใช้เท้าซ้ายมาเหยียบคันเร่ง แทนซึ่งไม่ควรปฎิบัติ จะทำให้เมื่อเราต้องการเบรก เรามักจะไม่ชินกับการใช้เท้าซ้ายเบรก ถ้าจะใช้เท้าขวาเบรกก็จะต้องยกเท้าซ้ายออกก่อน ทำให้กว่าจะเบรกต้องเสียเวลาไปมาก ซึ่งบางคนอาจคิดว่าไม่มาก แต่จริงๆแล้วใน 1 วินาที ถ้าเราขับรถเร็ว 100 ก.ม./ชม.ใน 1 วินาทีรถจะวิ่งไป 28 เมตร
7. การฟังเพลงดังๆหรือใส่หูฟัง จะไม่ได้ยินเสียงผิดปกติต่างๆ
8. การนั่งไม่จับพวงมาลัยรถยนต์ จะทำให้เมื่อมีเหตุฉุกเฉินจะควบคุมรถได้ยากมากยิ่งขึ้น
07 พฤศจิกายน 2551
วิธีการควบคุมรถยนต์
วิธีการควบคุมรถยนต์
1. การจับพวงมาลัย สมมุติให้พวงมาลัยเป็นหน้าปัดนาฬิกามีเลขเลียงกันตั้งแต่ 1-12 นาฬิกา โดยมือขวาจะจับอยู่ในตำแหน่งประมาณเลข 2 (2 นาฬิกา) และมือซ้ายจะจับอยู่ในตำแหน่งประมาณเลข 10 (10 นาฬิกา)
2. การหมุนพวงมาลัย ถ้าต้องการให้รถยนต์เลี้ยวไปในทางใด ก็ให้หมุนพวงมาลัยไปในทิศทางนั้น เช่น ถ้าต้องการเลี้ยวซ้าย ก็ให้หมุนพวงมาลัยไปทางซ้าย ถ้าต้องการให้รถเลี้ยวขวา ก็ให้หมุนพวงมาลัยไปทางขวา ไม่ว่าจะเป็นการขับรถเดินหน้าหรือถอยหลังก็จะเป็นเช่นนี้เสมอ
3. การเหยียบคันเร่ง โดยการเหยียบให้ใช้เท้าขวาเหยียบ ซึ่งการเหยียบคันเร่งควรเหยียบแต่เพียงเบาๆ ถ้ารู้สึกว่าเครื่องเร่งไม่พอกับความต้องการ ก็ให้ทำการเหยียบคันเร่งเพิ่มขึ้นอีกจนกว่าจะเป็นที่พอใจ
การเหยียบคันเร่งลงไป หมายความว่า เครื่องยนต์จะมีความเร็วรอบเพิ่มมาขึ้น หรือที่เรียกว่าเป็นการเร่งเครื่องยนต์
การปล่อยคันเร่ง(หรือเรียกว่าผ่อนคันเร่ง) หมายความว่า เครื่องยนต์จะมีความเร็วลดลงมา หรือที่เรียกว่าเป็นการเบาเครื่องยนต์
4. การเหยียบคลัช โดยการเหยียบให้ใช้เท้าซ้ายเหยียบ ซึ่งการเหยียบคลัสจะต้องเหยียบลงไปให้สุดระยะ เหยียบทุกครั้งไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น โดยในขณะเหยียบคลัชสามารถเปลี่ยนเกียร์ และสามารถเหยียบเบรกเพื่อหยุดรถได้ โดยทั้งเปลี่ยนเกียร์และเหยียบเบรกสามารถกระทำพร้อมๆกันได้
5. การเหยียบเบรก โดยการเหยียบจะใช้เท้าขวาในการเหยียบ จะเหยียบเบรกเมื่อต้องการให้รถมีความเร็วต่ำลง หรือต้องการหยุดรถโดยการส่วนใหญ่ การเหยียบเบรกจะใช้ร่วมกับการเหยียบคลัส และเมื่อเลิกใช้เบรกแล้ว ให้เปลี่ยนเท้าขวาไปวางไว้ที่คันเร่งอย่างเดิม
6. การใช้เบรกมือ จะใช้มือซ้ายในการดึงเบรกมือขึ้นมาตรงๆ จนรู้สึกว่าตรึงมือก็ให้หยุดดึง โดยเราจะดึงเบรกมือขึ้นมาเมื่อต้องการจอดรถทิ้งไว้นานๆ เพื่อการจอดรถบนเนินกันรถไหล
7. การเข้าเกียร์ เกียร์โดยปกติจะมีตำแหน่งเกียร์ว่าง เกียร์1-5 และเกียร์ถอยหลัง
การเข้าเกียร์ว่าง ให้ดันคันเกียร์มาบริเวณตรงกลาง ถ้าคิดว่าเกียร์ว่างแล้วให้ทดลองโยกเกียร์ไปทางซ้ายและขวา ถ้าสามารถโยกได้แสดงว่าเข้าเกียร์ว่างแล้ว ซึ่งโดยปกติถ้าอยู่ในตำแหน่งช่วงกลางเมื่อโยกไปซ้ายหรือขวา จะเด้งกลับมาอยู่ในตำแหน่งตรงกลางเสมอ
การเข้าเกียร์ 1-2 ให้เลื่อนเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง แล้วดันเกียร์ไปทางซ้ายค้างไว้ชั่วขณะ (ซึ่งตำแหน่งนี้สามารถจะไปยังเกียร์1และเกียร์2ได้) แล้วถ้าดันขึ้นจะเป็นเกียร์ 1 ถ้าดันลงก็จะเป็นเกียร์ 2 ถ้าต้องการเข้าเกียร์ว่างก็ให้ดันเข้ามาตำแหน่งกลางเช่นเดิม
การเข้าเกียร์ 3-4 ให้เลื่อนเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง(ซึ่งตำแหน่งเกียร์ว่างนี้ สามารถไปยังเกียร์3 และเกียร์4ได้) ถ้าดันขึ้นจะเป็นเกียร์3 และถ้าดันลงจะเป็นเกียร์4 ถ้าต้องการเข้าเกียร์ว่างก็ให้ดันเข้ามาตำแหน่งกลางเช่นเดิม
การเข้าเกียร์ 5 และเกียร์ถอยหลัง(R) ให้เลื่อนเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง แล้วดันเกียร์ไปทางขวาค้างไว้ชั่วขณะ (ซึ่งตำแหน่งนี้สามารถจะไปยังเกียร์5และถอยหลังได้) แล้วถ้าดันขึ้นจะเป็นเกียร์ 5 ถ้าดันลงก็จะเป็นเกียร์ ถอยหลัง ถ้าต้องการเข้าเกียร์ว่างก็ให้ดันเข้ามาตำแหน่งกลางเช่นเดิม
หมายเหตุ การเข้าเกียร์ทุกครั้งพึงระลึกเสมอว่า
1. ต้องเหยียบคลัชให้สุดทุกครั้ง
2. การเคลื่อนที่ของเกียร์ต้องเป็นมุมฉากทุกครั้ง
3. เมื่อตำแหน่งหยุดพักชั่วขณะต้องหยุดทุกครั้ง
4. ไม่ควรกระชากคันเกียร์อย่างรวดเร็ว
06 พฤศจิกายน 2551
อุปกรณ์ในควบคุมรถยนต์
อุปกรณ์ในควบคุมรถยนต์ ที่สำคัญประกอบด้วย
1. พวงมาลัยรถยนต์
ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดทิศทางรถให้เคลื่อนที่ตามที่เราต้องการ โดยถ้าต้องการให้รถไปในทิศทางใดก็ให้หมุนพวงมาลัยรถยนต์ ไปในทิศทางนั้น ไม่ว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
2. คันเร่ง
ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ แป้นเหยียบมีลักษณะเรียวเล็กถ้าความเร็วรอบมากกำลังเคลื่องยนต ์จะมากตามไปด้วย ถ้าความเร็วรอบต่ำความเร็ว เครื่องยนต์ก็จะมีไม่มากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่จะเหยียบคันเร่งไม่ควรจะเหยียบให้จมทันที ต้องเหยียบจากน้อยไปหามาก จนกว่าจะได้กำลังหรือความเร็วที่ต้องการแล้วค้างเท้าไว้ เพื่อไม่ให้รถกระชาก และเสียกำลังเครื่องยนต์ไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยแป้นคันเร่งจะอยุ่ที่แป้นเหยียบที่เท้าด้านขวาสุด โดยใช้เท้าขวาเหยียบ
3. เบรก
ทำหน้าที่ให้รถมีความเร็วต่ำลง หรือให้รถหยุด แป้นเหยียบกว้างให้เยียบได้ง่าย ถ้ารถมีความเร็ว โดยประมาณมากกว่า 30 กม./ชม เราสามารถเหยียบเบรกได้ทันที เพื่อการชะลอรถ แต่เมื่อใดก็ตามที่ความเร็วโดยประมาณต่ำกว่า 30 กม./ชม. ให้ทำการเหยียบคลัชก่อนจะเหยียบเบรก เพื่อป้องกันรถดับ โดยถ้าเราวิ่งมาด้วยความเร็วสูงและต้องการหยุดรถนั้น จะต้องเหยียบเบรกชะลอรถเสียก่อน ห้ามเหยียบเบรกจนสุดเพื่อหยุดรถทันที เพราะอาจจะทำให้รถเสียการควบคุม และอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ยกเว้นในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
การเบรกในเกียร์ออโต้นั้น จะไม่มีคลัช เพราะฉะนั้นสามารถใช้เบรกได้ปกติในทุกๆความเร็ว โดยไม่ต้องกลัวเครื่องดับ
ส่วนเบรกมือ มีหน้าที่หยุดรถไม่ให้ไหลเมื่อเราจอดในสถานที่ลาดเอียง ใช้งานโดยการดึงขึ้นมาตรงๆ จนรู้สึกตึงมือโดยใช้มือซ้ายแล้วเบรกมือจะค้าง เพื่อหยุดรถเราไว้ขณะจอด ถ้าต้องการปลดเบรกมือก็ให้ทำการกดปุ่มตรงปลายเบรกมือ แล้วปล่อยลงไปจะทำให้เบรกมือหยุดทำงาน
4. คลัช
ทำหน้าที่ เป็นตัวเชื่อมต่อล้อกับเครื่องยนต์ แป้นเหยียบมีลักษณะคล้ายกับเบรค โดยคลัชจะตัดต่อในลักษณะประกบกัน ไม่ใช้ลักษณะของเฟืองขบกันในขณะที่เราเหยียบคลัตช์เข้าไปจนสุด คลัชจะแยกออกจากกัน เป็นการแยกล้อออกจากเครื่อง เมื่อเราปล่อยคลัชขึ้นมาจนสุด คลัชก็จะประกบตัวจับกันจนแน่น เป็นการต่อล้อเข้ากับเครื่อง
ในกรณีของรถเกียร์ออโต้จะไม่มีคลัตช์ ให้ยุ่งยากขณเปลี่ยนเกียร์
5. เกียร์
เกียร์ธรรมดา ทำหน้าที่
1. ตัดต่อระหว่างล้อกับเครื่องในการเข้าเกียร์ และการปลดเกียร์หรือเกียร์ว่าง
2. กำหนดให้รถเคลื่อนที่เดินหน้าหรือถอยหลัง
3. ทำให้เพิ่มหรือลดกำลังของรถ โดยเกียร์ต่ำจะเพิ่มกำลังอของรถ ถ้าเกียร์สูงจะลดกำลังของรถ
4. เพิ่มหรือลดความเร็วรอบของล้อโดยเกียร์สูงจะเพิ่มความเร็วรอบ และเกียร์ต่ำจะลดความเร็วรอบ
โดยสรุปแล้วก็คือเมื่อเข้าเกียร์ต่ำจะมีกำลังของเครื่องยนต์มาก และจะวิ่งช้า แต่ถ้าเราขับรถโดยใช้เกียร์ต่ำจะเรียกว่า ลากเกียร์ โดยถ้าเราลากเกียร์นานๆ เป็นระยะทางยาว จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง และเกิดการสึกหรออย่างมาก
ซึ่งถ้าเราเข้าเกียร์สูง จะทำให้กำลังของเครื่องยนต์ต่ำมาก แต่จะมีความเร็วสูง แต่ถ้าเราออกรถยนต์ด้วยเกียร์สูง จะสังเกตุได้ว่าเราต้องการความเร็วรอบเครื่องยนต์สูงมาก ในการให้รถยนต์เคลื่อนตัว เพราะกำลังเครื่องจะต่ำมาก ดังนั้นเราจะเข้าเกียร์สูงก็ต่อเมื่อรถยนต์มีความเร็วเหมาะสม กับเกียร์นั้นๆแล้วเท่านั้น
รถเกียร์ออโต้ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเกียร์ธรรมดา แต่การใช้งานจะสะดวกมากกว่า
โดยที่คันเกียร์จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ เรียงตามลำดับจากหน้ารถมาหลังรถได้ดังนี้ P R N D S L
P ใช้เมื่อให้รถยนต์จอด โดยรถจะเคลื่อนที่ไม่ได้ เพราะล้อจะถูกล็อกอยู่กับเครื่อง
R ใช้เมื่อต้องการให้รถยนต์ถอยหลัง
N ใช้เมื่อต้องการเข้าเกียร์ว่างคล้ายกับ P แต่รถจะสามารถเคลื่อนที่ได้ถ้าเป็นเนินรถจะไหลได้
D จะเป็นตำแหน่งที่รถแต่ยี่ห้อจะเขียนไม่เหมือนกัน อาจจะใช้เป็นตัวอักษรอย่างอื่น ใช้เมื่อต้องการขับรถเดินหน้าในสภาวะปกติ โดยจะใช้เกียร์นี้ตลอด ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ตามความเร็วเหมือนเกียร์ธรรมดา
S จะเป็นตำแหน่งที่รถแต่ยี่ห้อจะเขียนไม่เหมือนกัน อาจจะใช้เป็นตัวอักษรอย่างอื่น จะใช้เมื่อต้องการกำลังรถมากขึ้น แต่ความเร็วจะลดลง
L จะเป็นตำแหน่งที่รถแต่ยี่ห้อจะเขียนไม่เหมือนกัน อาจจะใช้เป็นตัวอักษรอย่างอื่น โดยจะมีกำลังรถมากกว่าตำแหน่ง S และยังใช้ในการลากรถด้วย
หมายเหตุ สัญลักษณ์ข้างต้นเป็นเพียงแค่สิ่งที่นิยมใช้ ควรศึกษาจากคู่มือรถแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีฟังชั่นที่แตกต่างเพิ่มเติมออกมาอีก
05 พฤศจิกายน 2551
อุปกรณ์ภายในรถยนต์
- พวงมาลัย อยู่บริเวณหน้าคนขับ
- เกียร์ อยู่บริเวณด้านซ้ายมือ
- คลัส อยู่ที่บริเวณเท้า ด้านซ้ายสุด
- เบรค อยู่บริเวณเท้า ตรงกลางที่เท้า
- คันเร่ง อยู่บริเวณเท้า ด้านขวาสุด